เมนู

3. บุคคลผู้เช่นมะม่วงดิบ มีสีเป็นมะม่วงดิบ เป็น
ไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลังแลตรง เหลียว
ซ้ายแลขวา คู้เข้าเหยียดออก ทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร ไม่น่าเลื่อมใส บุคคล
นั้นไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ ย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นเช่นมะม่วงดิบ มีสี
ก็เป็นมะม่วงดิบ
มะม่วงดิบมีสีก็เป็นมะม่วงดิบนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็อุป-
ไมย ฉันนั้น.
4. บุคคลผู้เช่นมะม่วงสุก มีสีก็เป็นมะม่วงสุก เป็น
ไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลังแลตรง เหลียว
ซ้ายแลขวา คู้เข้าเหยียดออก ทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร น่าเลื่อมใส บุคคล
นั้นรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นเช่นมะม่วงสุก มีสีก็เป็น
มะม่วงสุก
มะม่วงสุกมีสีก็เป็นมะม่วงสุกนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมย ฉัน
นั้น
บุคคลเปรียบด้วยมะม่วง 4 จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ใน
โลก.


อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยมะม่วง 4 ชนิด


สองบทว่า "อามํ ปกฺกวณฺณี" ได้แก่ ผลมะม่วงที่ดิบในภายใน
แต่ภายนอกเหมือนมะม่วงสุก.

สองบทว่า "ปกฺกํ อามวณฺณี" ได้แก่ ภายในสุก แต่ภายนอก
เหมือนมะม่วงดิบ. แม้ใน 2 บทที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ในคำเปรียบ
เทียบด้วยผลมะม่วงนั้นคือ ภาวะที่มะม่วงไม่สุก คือเป็นของดิบย่อมมีฉันใด
แม้ในบุคคล ความเป็นปุถุชนเป็นเช่นมะม่วงดิบ ความเป็นพระอริยะก็เป็นเช่น
กับมะม่วงสุกฉันนั้น บัณฑิตพึงทราบการเปรียบเทียบด้วยการอุปมาในบุคคลที่
ท่านอุปมาแล้ว โดยนัยนี้ว่า เหมือนอย่างว่า ความที่มะม่วงมีสีอันสุก เช่นกับ
มะม่วงสุก ในมะม่วงทั้งหลายเหล่านั้น ฉันใด แม้ในบุคคล ความที่พระอริย-
เจ้าทั้งหลายมีวรรณะอันสุก คือ ความงาม เช่นกับด้วยความงามของอิริยาบถ
ทั้งหลาย มีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น ก็ฉันนั้น.

บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบด้วยหม้อ 4 ชนิด เป็น
ไฉน ?

[117] หม้อ 4 ชนิด
หม้อเปล่าปิด 1 หม้อเต็มเปิด 1
หม้อเปล่าเปิด 1 หม้อเต็มปิด 1

[118] บุคคลเปรียบด้วยหม้อ 4 ชนิด เหล่านี้ มีปรากฏอยู่
ในโลก ฉันนั้นเหมือนกัน.

บุคคล 4 จำพวก เป็นไฉน ?
คนเปล่าปิด 1 คนเต็มเปิด 1
คนเปล่าเปิด 1 คนเต็มปิด 1

1. บุคคล ที่เป็นคนเปล่าปิด เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลังแลตรง เหลียว
ซ้ายแลขวา คู้เข้าเหยียดออก ทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร น่าเลื่อมใส บุคคล
นั้นย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นคนเปล่าปิด หม้อเปล่าปิดนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้
ก็มีอุปไมย ฉันนั้น.
2. บุคคลที่เป็นคนเต็มเปิด เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลงแลตรง เหลียว
ซ้ายแลขวา คู้เข้าเหยียดออก ทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร ไม่น่าเลื่อมใส บุคคล
นั้นรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคล
อย่างนี้เรียกว่า เป็นคนเต็มเปิด หม้อเต็มเปิดนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มี
อุปไมยฉันนั้น.
3. บุคคลที่เป็นคนเปล่าเปิด เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลังแลตรง เหลียว
ซ้ายแลขวา คู้เข้าเหยียดออก ทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร ไม่น่าเลื่อมใส
บุคคลนั้น ไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นคนเปล่าเปิด หม้อเปล่าเปิดนั้น แม้ฉันใด บุคคล
นี้ก็มีอุปไมย ฉันนั้น.
4. บุคคลที่เป็นคนเต็มปิด เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลังแลตรง เหลียว
ซ้ายแลขวา คู้เข้าเหยียดออก ทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร น่าเลื่อมใส บุคคล

นั้น รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคล
อย่างนี้ชื่อว่า เป็นคนเต็มปิด หม้อเต็มปิดนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมย
ฉันนั้น.
บุคคลเปรียบด้วยหม้อ 4 จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก.

อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยหม้อ 4 ชนิด


บทว่า "กุมฺโภ" แปลว่า หม้อ.
บทว่า "ตุจฺโฉ" ได้แก่ ภายในว่าง.
บทว่า "ปีหิโต" ได้แก่ หม้อที่เขาปิดปากตั้งไว้.
บทว่า "ปูโร" ได้แก่ ภายในเต็ม.
บทว่า "วิวโฏ" ได้แก่ หม้อที่เขาเปิดปากตั้งไว้. ก็ในบรรดาบุคคล
ที่ท่านอุปมาแล้วในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่า เป็นบุคคลผู้เปล่า เพราะ
เว้นจากสาระ คือคุณความดีอันมีในภายใน และชื่อว่า เป็นผู้ปิด เพราะความ
เป็นผู้งามในภายนอก. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบด้วยห้วงน้ำ 4 ชนิด
เป็นไฉน ?

[119] ห้วงน้ำ 4 ชนิด
ห้วงน้ำตื้น เงาลึก 1
ห้วงน้ำลึก เงาตื้น 1
ห้วงน้ำตื้น เงาตื้น 1
ห้วงน้ำลึก เงาลึก 1